Warning: file_get_contents(https://api.facebook.com/restserver.php?method=links.getStats&urls=http://theerayut.com/index.php/ปัญหาผิวหนัง/21-สารพัดกระ): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/theerayut/domains/theerayut.com/public_html/plugins/content/al_facebook_comments/al_facebook_comments.php on line 516

สารพัดกระ

กระ มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล มักพบกระจายในบริเวณที่ถูกกับแสงแดด เช่นที่โหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง ทีแขนด้านนอก หรือเป็นกลุ่มด้านเดียวที่เรียกว่า segmental lentigenes ฝ้าจะมีสีน้ำตาลอ่อน ขอบเขตชัดเจน หรืออาจจะมีสีน้ำตาลอมเทา ขอบเขตไม่ชัดเจน ในกรณีของกระลึก กระจะมีลักษณะราบไปกับผิวหนังซึ่งแตกต่างจากกระเนื้อ ติ่งเนื้อ ซึ่งมีลักษณะนูน ขึ้นมาจากผิวหนังและมีสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน

กระมีหลายชนิด และมีการดำเนินไปของโรคแตกต่างกัน ดังนี้

1. กระที่เป็นมาตั้งแต่เล็ก (แต่มักจะไม่ได้เป็นตั้งแต่เกิด) ที่เรียกว่า Lentigo simplex ซึ่งพบมากในฝรั่ง


2. กระที่เป็นในคนสูงอายุ เนื่องจากถูกกระตุ้นด้วยแสงแดดสะสม มาเป็นระยะเวลายายาวนาน ที่เรียกว่า Lentigo solaris หรือ Lentigo senilis
ทั้ง 2 ชนิดนี้ จะมีลักษณะทางพยาธิวิทยาคล้ายกัน คือมี เซลล์สร้างสีเพิ่มขึ้น และมีการยื่นยาวของส่วนล่างของหนังกำพร้า เข้าไปในชั้นหนังแท้


3. กระแดด (Freckle หรือ Ephilides) ซึ่งพบในคนที่มีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ในบริเวณหน้า หรือ ด้านหลังของแขนบริเวณที่ถูกกับแสงแดด เป็นรูปแบบของกระที่พบบ่อยกว่า 2 ชนิดข้างต้น ลักษณะทางพยาธิวิทยา พบว่ามีการสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีการยื่นยาวของส่วนล่างของหนังกำพร้า เข้าไปในชั้นหนังแท้


4. กระเนื้อ มีลักษณะเป็นจุด เป็นตุ่ม หรือติ่งเนื้อเล็กๆ ไปจนหลายมม. ติดอยู่ที่ผิวหนัง ซึ่งมีลักษณะนูนขึ้นมาจากผิว มักเป็นที่บริเวณด้านข้างของหน้า และลำคอ พบในคนสูงอายุ หรือในคนอายุไม่มากนักที่มีประวัติในครอบครัว ลักษณะทางพยาธิวิทยาพบว่าผิวหนังชั้นหนังกำพร้าที่มีลักษณะหนาตัวขึ้น และโตออกด้านนอก


          ในการรักษากระนั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กระมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามอายุ และการถูกกับแสงแดด ดังนั้น เมื่อรักษาไปแล้ว กระจึงกลับมาเป็นใหม่ได้อยู่เรื่อยๆ ดังนั้น ถ้าต้องการผลการรักษามีความจำเป็นที่จะต้อง รักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ด้วยการทายากันแดดเป็นประจำ ในการทายากันแดดนั้น ควรเลือกยากันแดดที่มีส่วนผสมของสารที่สะท้อนแดด (Physical sunscreen) เช่น Titaniam dioxide หรือ Zinc Oxide และมีค่า SPF อย่างน้อย 30 ถ้าทำกิจกรรมที่อาจจะต้องมีเหงื่อออกมาก ควรเลือกยากันแดดที่กันน้ำได้ด้วย ซึ่งอาจจะมีลักษณะมันเล็กน้อย การทายากันแดด จะต้องล้างหน้าให้สะอาดก่อน และทาก่อนออกแดดอย่างน้อย 15 ถึง 30 นาที วันละ 2 ครั้ง คือ เช้า และเที่ยง ร่วมไปกับการใช้ตัวยาที่ลดการทำงานของเซลล์สร้างสี เช่น ยาในกลุ่มของ hydroquinone, licorice , kojic acid , arbutin หรือ azeleic acid


          อย่างไรก็ตาม การใช้ยาเหล่านี้ มักทำให้สีผิวจางลง และบางครั้งดูเหมือนจะเห็นกระชัดขึ้นด้วยซ้ำไป โดยปกติ กระไม่สามารถจางหายไปได้จากการใช้ยาลดการทำงานของเซลล์สร้างสี และจำเป็นที่จะต้อง ใช้วิธีการที่ทำให้มีการผลัดลอกของเซลล์ผิวหนังชั้นนอกออกไปด้วย เช่น ยาในกลุ่ม retinoic acid, AHA, หรือ BHA โดยอาจจะร่วมไปกับการจี้ด้วย Trichloracetic acid นอกจากนี้ ก็ยังอาจใช้ laser หรือแสง บางชนิด เช่น IPL ซึ่งมีช่วงคลื่นจำเพาะกับเม็ดสี หรือ melanin นั่นเอง ก็จะทำให้ผิวหนังที่มีเม็ดสีอยู่มากได้รับพลังงานจาก laser หรือแสงนั้นจนเกิดความร้อน แล้วถูกทำลาย ตกสะเก็ดไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป กระก็จะค่อยๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นกลับมาตามเดิม มักมีคำถามอยู่เสมอว่า การจี้กระนั้น ทำให้กระขยายขนาดใหญ่ขึ้น หรือเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ คำตอบมีทั้งใช่ และไม่ใช่ ที่ว่าใช่นั้น ก็เพราะ การจี้กระนั้น ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังเกิดขึ้น และเป็นธรรมชาติที่จะมีรอยดำตามหลังการอักเสบ (Post inflammatory hyperpigmentation) เกิดขึ้นรอบๆ บริเวณที่จี้กระนั้น ทำให้ดูเหมือนว่าหลังจากจี้กระแล้ว กระขยายขนาดขึ้น และดำกว่าเดิม และถ้าหลังการจี้กระไปแล้ว ไม่ทายากันแดด รวมทั้งยาที่ลดการทำงานของเซลล์สร้างสี อาจจะด้วยเพราะว่า รู้สึกแสบหน้า แล้วไปถูกกับแดด ก็อาจเป็นการกระตุ้นกระให้เพิ่มขึ้นได้ และที่ว่าไม่ใช่นั้น ก็เพราะ โดยปกติแล้ว แพทย์จะทำการเตรียมผิวคนไข้ก่อนที่จะทำการจี้กระ ด้วยการให้ทายากันแดดและยาที่ระงับการทำงานของเซลล์สร้างสี ตลอดจนหลีกเลี่ยงแสงแดด ไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ และการปฏิบัติอย่างถูกต้องหลังจากจี้กระไป กล่าวคือ หลีกเลี่ยงแสงแดดอย่างเต็มที่ ไม่ไปแกะหรือสะกิดสะเก็ดที่เกิดขึ้น ล้างหน้าอย่างเบาๆ และทายาตามที่ระบุไว้ ไม่ควรมีปัญหาเรื่อง กระดูใหญ่ขึ้นกว่าเดิม หรือเพิ่มจำนวนขึ้นแต่อย่างใด

          สำหรับกระเนื้อนั้น นอกจากการทายา เช่นเดียวกันกับกระแดดแล้ว อาจจะใช้การตัดออกด้วยกรรไกร (ซึ่งควรจะทำโดยแพทย์) หรือใช้การจี้เย็นด้วย Nitrogen เหลว หรือจี้ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า หรือใช้ Carbondioxide Laser ร่วมไปด้วย เพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้น


Copyright © 2014. All Rights Reserved.