เลเซอร์ผิวหนัง
เลเซอร์ (Laser) ย่อมาจากคำว่า Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation เทคโนโลยี เลเซอร์ มีการประดิษฐ์คิดค้นมากว่า 40 ปี และในทางผิวหนังมีการนำมาใช้อย่างจริงจังกว่า 20 ปีแล้ว ปัจจุบันถือได้ว่า เทคโนโลยีด้านเลเซอร์นี้มีความนิ่ง ปลอดภัยสูง ผ่านการศึกษามามากจนได้มาตรฐานการรักษา ให้ผลดี สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้หลายชนิด ซึ่งไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยวิธีการอื่น
เมื่อพูดถึง เลเซอร์ผิวหนัง คนส่วนหนึ่งอาจจะคิดว่า เลเซอร์มีเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วเลเซอร์มีหลายชนิดขึ้นกับแหล่งกำเนิดของแสงเลเซอร์ และมีข้อบ่งชี้ในการใช้แตกต่างกัน หลักการของเลเซอร์ผิวหนัง อาศัยหลัการที่ว่า Selective Photothermolysis
การเตรียมตัวเพื่อรักษาด้วยเลเซอร์
ข้อแนะนำในการเตรียมตัวก่อนรักษาด้วย Laser ผิวหนัง
1 หลีกเลี่ยงแสงแดด ตลอดจนทายากันแดดเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
2 ในกรณีของใบหน้า อาจจะต้องทายาเพื่อลดการทำงานของเซลล์สร้างสีล่วงหน้า 2-4 สัปดาห์
3 ล้างหน้า หรือบริเวณที่จะรับการรักษาให้สะอาด ปราศจากเครื่องสำอางค์
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังการรักษาด้วย Laser ผิวหนัง
1 ในกรณีของ Laser ที่ทำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง เช่น Carbondioxide Laser ต้องหลีกเลี่ยง
ไม่ให้แผลถูกน้ำอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
2 โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องปิดแผล เว้นแต่แผลลึก หรือแพทย์สั่ง
3 ทายาเพื่อป้องกันการติดเชื้อตามที่แพทย์สั่ง โดยทั่วไป หลัง 48 ชั่วโมง ไม่ควรมีอาการ
เจ็บแผล บวมแดงรอบแผล ถ้ามี ควรพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะ
4 หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า หรือใช้เครื่องสำอางค์อย่างน้อย 1 สัปดาห์
5 ระหว่าง 2 สัปดาห์แรก ควรหลีกเลี่ยงแดดให้มากที่สุด
6 หลัง 48 ชั่วโมง สามารถเริ่มใช้ยาที่ใช้ตามปกติได้
IPL
IPL ย่อมาจาก Intense Pulsed Light IPL เป็นแสงช่วงคลื่นระหว่าง 500 ถึง 1200 nm. ที่มีความเข้มสูง และใช้ตัวกรองแสงเพื่อตัดแสงเป็นช่วงๆ เมื่อเทียบกับ เลเซอร์ซึ่งมีลักษณะ เป็นแสงช่วงคลื่นเดียว มีเป้าหมายเดียว การใช้เลเซอร์เพื่อการรักษาโรคจึงเป็นการรักษาเฉพาะโรค เช่น เพื่อกำจัดปานดำ หรือรอยสักก็เป็นเลเซอร์อย่างหนึ่ง เพื่อรักษาปานแดง ก็เป็นเลเซอร์อีกอย่างหนึ่ง เพื่อกำจัดขนก็เป็นเลเซอร์อีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น ขณะที่ IPL มีลักษณะของแสงเป็นช่วงกว้าง จึงมีเป้าหมายหลายอย่างที่ได้รับผลจากการรักษาไปพร้อมกัน
IPL ใช้รักษารอยโรคตื้นๆ ที่เป็นสีน้ำตาลดำ หรือสีแดงได้ผลดี เช่น รอยแดง เส้นเลือดฝอย กระ รอยดำตามหลังการอักเสบ อย่างไรก็ตาม การที่ช่วงแสงของ IPL กว้างและมีค่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องหลายอย่างที่ส่งผลต่อการรักษา ทำให้ IPL ใช้งานยาก และมีผลที่ไม่ค่อยแน่นอนผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้ เช่น อาการไหม้ พอง หรือเป็นแผล
จะเลือกทรีตเมนต์อย่างไร
ปัจจุบันมีความนิยมในการทำหัตถการทางผิวหนังกันมากขึ้น โดยพยายามหลีกเลี่ยงการทำศัลยกรรม เทคนิก และวิธีการต่างๆ มีพัฒนาการและทยอยกันออกมาเป็นทางเลือกให้เปรีบบเทียบ จึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาหาข้อมูลให้มากก่อนที่จะตัดสินใจ ขณะเดียวกันก็จะต้องถามตัวเองด้วยถึงความจำเป็น และความพร้อมในการรักษานั้นๆ จึงอยากเสนอประเด็นที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจทำหัตถการต่างๆ ทางผิวหนังดังนี้
Fotofacial RF
ในการรักษาด้วยเลเซอร์นั้น ในช่วง 10 ปีหลังมานี้ก็มีเทคนิคใหม่คือ IPL ที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้ในการรักษากันมาก แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มในการใช้แหล่งพลังงานอื่น เพื่อการรักษาพุ่งไปที่การใช้ คลื่นวิทยุไฟฟ้า (Radiofrequency หรือ RF) มากขึ้น ซึ่งมีทั้งการใช้ RF เดี่ยวๆ หรือร่วมกับเครื่องมืออื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
เทคนิกของ RF นั้น ไม่มีเป้าหมายในผิวหนังเฉพาะ เนื่องจากโมเลกุลของนั้น เป็นส่วนที่จะรับพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า การรักษาด้วย RF ส่งผลกับผิวหนังโดยไม่จำเพาะ ขณะเดียวกัน ข้อดีก็คือ ผลข้างเคียงหรือข้อจำกัดที่มีกับเลเซอร์หรือ IPL ก็จะไม่พบ หรือพบได้น้อยกว่า เช่น อาการพองไหม้ของผิวหนังส่วนบน และรอยด่างขาว หรือดำ