Warning: file_get_contents(https://api.facebook.com/restserver.php?method=links.getStats&urls=http://theerayut.com/index.php/ปัญหาผิวหนัง/28-น้ำกัดเท้า): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/theerayut/domains/theerayut.com/public_html/plugins/content/al_facebook_comments/al_facebook_comments.php on line 516

น้ำกัดเท้า

ช่วงนี้ข่าวน้ำท่วมที่นั่นที่นี่ มีแต่คนพูดถึงเรื่องโรคน้ำกัดเท้า เลยคิดว่า เรามาทำความรู้จักกับโรคน้ำกัดเท้าสักหน่อยคงจะดี เพราะมีความเข้าใจผิดกันว่า เป็นโรคเดียวกับฮ่องกงฟุต หรือเชื้อราที่เท้า และมักจะให้การรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งไม่ค่อยจะถูกต้องนัก

จริงๆ แล้ว โรคน้ำกัดเท้านี้ ไม่ได้เป็นโรคเฉพาะเจาะจง จึงหาโรคนี้ในชื่อภาษาอังกฤษไม่ได้ โดยธรรมชาติแล้วผิวหนังของคนเราควรจะแห้ง เพราะเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนบก จึงไม่มีผิวที่มีลักษณะเป็นเมือกลื่น หรือเป็นเกล็ด กระดอง เมื่อต้องไปอยู่ในสภาพที่เปียกน้ำ แช่น้ำอยู่นานๆ หนังกำพร้า ก็จะบวม พอง และเปื่อย แตกในที่สุด ซึ่งในระยะนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง การรักษาในระยะนี้ นอกจากจะต้องระวังให้เท้าแห้งอยู่เสมอแล้ว การทายาจำพวกสเตียรอยด์อ่อนๆ เพื่อลดการอักเสบของผิวหนัง จะทำให้หายเร็วขึ้น แต่ถ้าทิ้งไว้นานไป จะมีปัญหาการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งเป็นไปได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อยีสต์ แต่มักจะไม่ใช่เชื้อราจำพวก dermatophyte แบบเดียวกับที่ เราเรียกว่า ฮ่องกงฟุต หรือ เชื้อราที่เท้า การรักษาในระยะนี้จะเป็นใช้ยายาปฏิชีวนะ ที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อยีสต์แล้วแต่กรณี หรือเป็นยาผสมกันของยาเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญของการรักษา และการป้องกัน โรคน้ำกัดเท้า คือการหลีกเลี่ยงการเปียกน้ำแช่น้ำ และรักษาเท้าไว้ให้แห้งอยู่เสมอ ในการทำให้เท้าแห้ง ต้องระลึกไว้เสมอว่า บริเวณง่ามนิ้วเท้า เป็นบริเวณที่แห้งยากกว่า ส่วนอื่น จึงต้องเน้นการซับ หรือผึ่งลมให้บริเวณง่ามนิ้วเท้าแห้งเป็นพิเศษ


Copyright © 2014. All Rights Reserved.