Warning: file_get_contents(https://api.facebook.com/restserver.php?method=links.getStats&urls=http://theerayut.com/index.php/ปัญหาผิวหนัง/20-ผิวหนังอักเสบอายุที่มากขึ้น): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/theerayut/domains/theerayut.com/public_html/plugins/content/al_facebook_comments/al_facebook_comments.php on line 516

ผิวหนังอักเสบอายุที่มากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นกับผิวหนัง ทั้งในส่วนของหนังกำพร้า และหนังแท้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น มีทั้งที่เป็นปัจจัยภายใน (Intrinsic aging) ซึ่งถูกกำหนดมาจากพันธุกรรม และที่เป็นปัจจัยภายนอก (Extrinsic aging) เช่น แสงแดด ลม ความร้อน ลักษณะการใช้ชีวิต สุขภาพ ความเครียด มลภาวะ ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พอจะจำแนกได้ดังนี้
รอยที่เป็นสีน้ำตาล (Dyschromia) เช่น รอยดำคล้ำเกรียม, กระ, ฝ้า
รอยที่เป็นสีแดง (Vascularity) เช่น เส้นเลือดฝอย, หน้าแดง
พื้นผิว (Texture) ที่ขรุขระไม่เรียบ และดูหยาบเช่น ติ่งเนื้อ, กระเนื้อ, ต่อมไขมันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น, รูขุมขนใหญ่
ริ้วรอยเหี่ยวย่น (Wrinkle) ทั้งแบบที่ละเอียด (Fine wrinkle) และหยาบ (Coarse wrinkle) ทั้งแบบที่อยู่ตลอดเวลา (Static wrinkle) และแบบที่เห็นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า (Dynamic wrinkle)
ความหย่อน ไม่กระชับ (Skin laxity)

ในการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะต้องปรับเปลี่ยนปัจจัยภายนอก เป็นต้นว่า หลีกเลี่ยง แสงแดด และความร้อน ดูแลสุขภาพ และอาหาร ตลอดจนหลีกเลี่ยงความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ; การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างสามารถแก้ไข หรือทำให้ดีขึ้นได้ด้วยยาหรือหัตถการทางการแพทย์ เช่น ในส่วนที่เป็นรอยสีน้ำตาลนั้น สามารถใช้ยาซึ่งมีฤทธิ์ลดการทำงานของเซลล์สร้างสี เช่น Hydroquinone, Licorice, Kojic acid, Arbutin ร่วมไปกับการใช้ยากันแดด และยาที่ช่วยให้มีการผลัดเซลล์ผิวหนังเร็วขึ้น เช่น AHA , BHA, VAA ตลอดจนการลอกหน้าด้วยสารเคมี หรือการกรอผิวตื้นๆ ด้วย microdermabrasion; ในส่วนของรอยที่เป็นสีแดงนั้น จำเป็นต้องใช้ Laser บางชนิดเช่น Pulsed dye laser หรือ แสงความเข้มสูง (Intensed Pulse Light) ; ในส่วนของพื้นผิวที่ขรุขระ ไม่เรียบ สามารถแก้ไขได้ด้วยการจี้ด้วยสารเคมี (Trichloracetic acid), จี้ด้วยความเย็นจัด (Liquid Nitrogen), หรือใช้ Carbondioxide Laser; สำหรับริ้วรอยที่เป็นแบบละเอียดนั้น สามารถดีขึ้นได้จากการใช้ยา ในกลุ่มของ AHA, BHA, VAA , การลอกหน้าด้วยสารเคมี หรือ กรอผิวตื้นๆ ด้วย microdermabrasion และ การทำ Dermal matrix heating ด้วย laser บางชนิด เช่น Long pulsed dye Laser, Long pulsed Nd-Yag Laser, หรือคลื่นความร้อนของ Radiofrquency (RF); สำหรับริ้วรอยที่ลึกนั้น ถ้าเป็นแบบที่เห็นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า สามารถแก้ไขได้โดยการฉีดสาร Botulinum toxin A เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว แต่ถ้าเป็นริ้วรอยลึก ที่อยู่ตลอดเวลา จำเป็นต้องใช้วิธีการฉีดสารจำพวก collagen หรือสารเทียม collagen เข้าไปเสริมให้นูนขึ้นมา และสุดท้าย ความหย่อนและไม่กระชับของผิวหนังนั้น สามารถแก้ไขได้หลายระดับ ตั้งแต่ การทำ Deramal matrix heating ในชั้นที่ลึก ด้วย Long pulsed Nd-Yag หรือ RF ไปจนกระทั้งใช้ ไหมพิเศษบางชนิดที่แทงเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อเกี่ยว และรั้งขึ้นมาให้กระชับขึ้น , หรือทำการผ่าตัดดึงหน้าเพื่อแก้ไขในรายที่ไม่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งอาจจะร่วมกับการดูดไขมันบางส่วนออกไปด้วย
การรักษาทั้งหมดที่กล่าวมานั้น อาจไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างขึ้นกับว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน และมีความคาดหวังผลการรักษาเพียงใด การรักษาบางอย่างมีผลข้างเคียงบ้างแต่ไม่มาก ทุกอย่างที่กล่าวมา ยกเว้นการผ่าตัด สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หลังทำแล้วสามารถไปทำงานได้ตามปกติ การรักษาด้วยยานั้นยังคงเป็นพื้นฐานการรักษาหลัก โดยเสริมเข้าไปด้วยการรักษาอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาจะค่อยเป็นค่อยไป การรักษาด้วย Laser และแสง หรือคลื่นวิทยุความร้อนนั้น แม้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สามารถรับรู้ได้เร็ว แต่ก็จำเป็นจะต้องทำซ้ำหลายครั้ง เพื่อให้เกิดผลดีที่สุด และยังจะต้องทำเป็นระยะๆ หลังจากนั้น เพื่อรักษาระดับของผลการรักษาเอาไว้ ปัจจุบันมีเครื่องมือ บางชนิดที่รวมเอาเครื่องมือหลายอย่างเข้าด้วยกันเพื่อรักษาในคราวเดียว เช่น รวมเอา IPL กับ Nd-Yag หรือรวมเอา IPL กับ RF หรือ diode laser กับ RF หรือ Infrared laser กับ RF ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลการรักษาทั้งส่วนที่เป็น Dyschromia, vascularity, wrinkle , Laxity พร้อมกันตลอดจนสามารถกำจัดขนที่ไม่ต้องการไปด้วยเลยทีเดียวซึ่งนับว่าสะดวก และประหยัดกว่าการแยกทำเป็นอย่างๆไป ยกเว้นแต่ ถ้ามีปัญหาเฉพาะเรื่อง เช่น รอยสัก ปานดำ ปานแดง จึงจะใช้ laser จำเพาะเป็นอย่างๆ ไปซึ่งจะได้ผลดีกว่า แบบที่รวมๆกันมา ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะทำอะไรมากน้อยแค่ไหน คงจะต้องมีการปรึกษาหารือกันระหว่างแพทย์กับคนไข้ เพื่อพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และวางแผนจัดลำดับการแก้ไขปัญหาเหมาะสม


Copyright © 2014. All Rights Reserved.