Warning: file_get_contents(https://api.facebook.com/restserver.php?method=links.getStats&urls=http://theerayut.com/index.php/การดูแลผิว/31-เครื่องสำอางเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง): failed to open stream: HTTP request failed! HTTP/1.1 400 Bad Request in /home/theerayut/domains/theerayut.com/public_html/plugins/content/al_facebook_comments/al_facebook_comments.php on line 516

การดูแลผิว

เครื่องสำอางเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง

ชั้นผิวหนังขี้ไคลซึ่งเป็นแผ่นใสคลุมผิวจะช่วยลดการสูญเสียน้ำและน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวหนังซึ่งเคลือบผิว จะมีสารประกอบหลายชนิดช่วยเก็บความชุ่มชื้นของผิวไว้ แต่ในบางคนหนังชั้นขี้ไคลผิดปกติทำให้มีการระเหยน้ำจากผิวหนังมากกว่าปกติ ผิวจึงแห้ง เช่น โรคหนังแห้งจากพันธุกรรม (congenital ichthyosis) หรือบางครั้งการชำระล้างซึ่งมากกว่าความจำเป็นจนน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวหมดเกลี้ยง และสารชำระยังระคายต่อเซลล์หนังชั้นขี้ไคล ทำให้คุณภาพผิวนี้เสียไป ผิวก็จะแห้ง และในภาวะอากาศมีความชื้นต่ำ เช่น ฤดูหนาว น้ำจะระเหยจากผิวหนังเพิ่มขึ้นก็ทำให้ผิวแห้งได้เช่นกัน

ดังนั้นอุตสาหกรรมของผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นจึงเติบโตมากขึ้น เพราะผู้บริโภคมีความตื่นตัวตามกระแสสังคมซึ่งนิยมดูแลรักษาผิวให้สะอาดมากเกินควร และการทำงานในห้องปรับอากาศซึ่งมีความชื้นต่ำจะช่วยเร่งให้ผิวหนังแห้งมากขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น (moistrizer) ซึ่งอาจมีชื่อเรียกหลายแบบ

ลักษณะของผลิตภัณฑ์อาจเป็นครีม โลชันขุ่น โลชันใส เจล สเปรย์ และการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์มักให้ต้องใจผู้ใช้ เช่น night cream, replenishing cream, skin protectant, repair serum ฯลฯ แต่หลักของเครื่องสำอางกลุ่มนี้ใช้เพื่อให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นโดย


1. สารช่วยเพิ่มน้ำในชั้นผิวหนัง (hydrophilic matrix moisturizers)
โดยผสมสารซึ่งอุ้มน้ำในผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาผิวแห้ง เช่น colloidal oatmeal และในปัจจุบันสารที่นิยมใช้คือ hyaluronic acid (HA) ซึ่งเป็น glycosaminoglycans ในธรรมชาติสารนี้พบสอดแทรกในชั้นหนังแท้ โดยสาร HA จะอุ้มน้ำได้ 1000 เท่า จึงทำให้ผิวหนังวัยรุ่นเต่งตึง แต่เมื่อวัยสูงขึ้นสาร HA ในชั้นหนังแท้จะลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณผิวหนังจึงเหี่ยวย่น ในครีมหรือโลชันผิวแห้งจึงนิยมผสมสาร HA เพื่อช่วยอุ้มน้ำในผิวหนังชั้นขี้ไคล


2. สารเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากผิว (occlusive moisturizers)
ผลิตภัณฑ์ผิวแห้งจะผสมน้ำมันหลายชนิด เมื่อทาน้ำมันเคลือบผิวการระเหยของน้ำจากชั้นผิวหนังจะลดลง น้ำมันที่ใช้มีหลายกลุ่ม คือ


1. Hydrocarbon oils and waxes: petrolatum, mineral oil, paraffin, and squalene
2. Silicone oils
3. Vegetable and animal fats
4. Fatty acids: lanolin acid, stearicacid, linoleic acid, linolenic acid, and arachidonic acid
5. Fatty alcohol: lanolin alcohol and cetyl alcohol
6. Polyhydric alcohols: polyethelene glycol
7. Wax esters: lanolin, beeswax, and stearyl stearate
8. Vegetable waxes: carnauba and candelilla
9. Phospholipids: lecithin
10. Sphingolipids: ceramides
11. Sterols: cholesterol and cholesrol sulfate

          น้ำมันกลุ่ม hydrocarbon น้ำมันพืช น้ำมันจากสัตว์ ลาโนลิน polyethelene glycol หรือไขผึ้ง ฯลฯ เมื่อนำน้ำมันเหล่านี้ผสมในครีมจะต้องใช้ในปริมาณพอเหมาะเพื่อไม่ให้เหนอะหนะ ไม่น่าใช้ ส่วนไขมันกลุ่ม phospholipid และ sphingolipid จะมีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันหล่อเลี้ยงผิว และมีการกล่าวอ้างว่าน้ำมันกลุ่มนี้อาจช่วยซ่อมแซมผิวหนังได้ด้วย ส่วนสารซึ่งน่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งคือ สารซิลิโคน เช่น cyclomethicone และ dimethicone สารกลุ่มนี้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและช่วยหล่อลื่นผิวหนังได้ดี โดยไม่เหนียวเหนอะหนะ ไม่ก่อให้เกิดสิว และไม่ทำให้เกิดการแพ้ ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้ซิลิโคนผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิดสารซึ่งช่วยป้องกันการระเหยของน้ำจากผิว มีข้อดี คือ ทำให้ผิวหนังลื่นชุ่มชื้น และนิ่มนวล แต่ข้อเสีย คือ ไขมันบางตัวอาจอุดตันรูขุมขน ก่อให้เกิดสิว และถ้าผสมในปริมาณสูงจะเหนียวข้นไม่น่าใช้


3. สารซึ่งดูดความชื้นจากบรรยากาศ (humectant moisturizers)
เดิมสารนี้ใช้ผสมในครีมเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากเนื้อครีม เมื่อนำครีมชนิดนี้ทาที่ผิว สารดูดความชื้นก็จะช่วยดูดความชื้นจากอากาศเข้าในผิวหนังชั้นขี้ไคลด้วย พบว่าถ้าความชื้นในอากาศสูงกว่า 70 % สารนี้ดูดน้ำจากบรรยากาศได้ แต่ถ้าความชื้นในอากาศต่ำ สารจะกลับดึงน้ำให้ระเหยออกจากผิวหนังสู่บรรยากาศทำให้ผิวแห้งมากขึ้น จึงควรผสมในความเข้มข้นที่พอเหมาะ สารกลุ่มนี้คือ กลีเซอรีน (glycerin), น้ำผึ้ง, กรดแลคติค (lactic acid), โซเดียมแลคเตท (soduim lactate), propylene glycol, sorbitol, pyrolidone carboxylic acid, gelatin, วิตามิน, โปรตีนบางชนิด คอลลาเจนและอีลาสติน ส่วนสารยูเรียและสารแอตแลนโตอิน (allantoin) ซึ่งแพทย์ผิวหนังนิยมใช้ก็สามารถดูดน้ำได้เช่นกัน ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนัง และสารยูเรียยังละลายขุย และช่วยให้การดูดซึมของยาทาอื่นๆ เพิ่มขึ้น

          การใช้ครีมหรือโลชันเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังควรใช้กับผื่นผิวหนังแห้งซึ่งไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นเมื่อพบปัญหาผิวแห้งจะต้องใคร่ครวญหาสาเหตุว่าเกิดจากการทำความสะอาดผิดวิธีหรือไม่ เนื่องจากในแต่ละบุคคลและในบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน คราบสกปรกบนผิวหนังจะต่างกัน จึงควรชำระล้างแต่พอควร เพื่อลดการสูญเสียน้ำมันหล่อเลี้ยงผิว เพราะผิวหนังของแต่ละบุคคลสร้างน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวให้เหมาะเฉพาะแตกต่างกัน ส่วนครีมหรือโลชันที่ใช้ทาทดแทนเป็นสารสังเคราะห์จะมีคุณสมบัติด้อยกว่าน้ำมันหล่อเลี้ยงผิว ซึ่งสร้างโดยธรรมชาติมาก และในครีมหรือโลชันยังมีส่วนประกอบอื่น เช่น สี กลิ่น สารกันบูด สารกันหืน ฯลฯ ซึ่งก่อให้เกิดการแพ้ได้ และน้ำมันหรือไขมันในครีม และโลชันซึ่งใช้ทดแทนไขมันของผิวยังก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนได้


Copyright © 2014. All Rights Reserved.