โรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคที่พบบ่อย โดยพบได้ 2-4 % ของประชากร   คนไข้จะมาด้วยอาการผื่นที่ผิวหนัง ศีรษะ และเล็บ และยังอาจจะมีอาการทางข้อร่วมไปด้วย   ผื่นที่พบในโรคสะเก็ดเงินมี 2 ลักษณะ คือ เป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดเป็นสีขาว และมักพบบริเวณข้อเข่า ข้อศอก หน้าแข้ง หรือบริเวณที่มีการสัมผัสเสียดสีบ่อย เช่น แขน หน้าแข้ง สะโพก และที่หนังศีรษะ  กับอีกลักษณะหนึ่งคือมาด้วยอาการเป็นตุ่มหนองเล็กๆ ซึ่งอาจจะเป็นทั่วไป หรือเป็นเฉพาะที่ เช่นใต้เล็บ ฝ่ามือ เท้า ก็ได้
 
          คนไข้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน โดยทั่วไปแยกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นในคนอายุน้อย หรือเป็นมาตั้งแต่เด็ก กับที่เป็นในผู้ใหญ่ หรือมาเป็นเมื่อโตแล้ว ในกลุ่มแรกมักจะพบว่ามีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย โดยอาจจะพบร่วมกันหลายคนในครอบครัว   แต่ในกลุ่มหลังจะพบลักษณะการถ่ายทอดทางกรรมพันธ์น้อยกว่า คือมักพบว่าเป็นขึ้นมาเอง เป็นคนเดียวในครอบครัว

Read more: โรคสะเก็ดเงิน

ผิวแตกลาย

เชื่อกันมานานแล้วว่า การที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือการที่มีการขยายขนาดอย่างรวดเร็วในวัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการแตกลายที่ผิวหนัง  อย่างไรก็ตามในวารสารทางการแพทย์ผิวหนังอเมริกัน (Journal of American academy of dermatology) ฉบับเดือนธันวาคม ปี 2004 ได้ลงตีพิมพ์รายงานทางการพทย์เรื่องปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการแตกลายในหญิงตั้งครรภ์ (Risk factor associated with striae gravidarum)
 
          โดยพบอุบัติการท้องลายในหญิงตั้งครรภ์ระหว่าง 50 - 60% โดยกว่า 90% จะเกิดตั้งแต่ครรภ์แรก  ทั้งนี้ ไม่พบว่ามีส่วนสัมพันธ์กับน้ำหนักตัว ไม่ว่าจะเป็นก่อนตั้งครรภ์ หรือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์แต่อย่างใด 

Read more: ผิวแตกลาย

ลมพิษ

ลมพิษ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าปะดงนั้น  คนไข้ที่เป็นจะมาด้วยอาการบวม แดง และคันตามผิวหนังซึ่งอาจจะเป็นเฉพาะที่ หรือเป็นทั่วๆ ไปได้ ที่สำคัญคือ ส่วนใหญ่แล้ว อาการของลมพิษจะเป็นอยู่ไม่นาน มักจะเป็นในระดับชั่วโมง หรืออย่างมาก ก็ไม่เกิน 1 วัน  ขณะที่คนไข้มาพบแพทย์บางทีผื่นอาจจะยุบไปแล้วก็ได้ มีโรคผิวหนังไม่กี่อย่าง ที่ผื่นจะขึ้นมา และหายไปภายในเวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งนอกเหนือจาก ลมพิษแล้วก็มี ผดร้อน และอาการที่เกิดจากเส้นเลือดขยาย และหดตัว
          
          เราแบ่งลมพิษ เป็น 2 ชนิด คือลมพิษเฉียบพลัน และลมพิษเรื้อรัง โดยใช้ระยะเวลาในการแบ่ง ลมพิษที่เป็นมาไม่ถึง 6 สัปดาห์ ถือว่าเป็นลมพิษเฉียบพลัน ส่วนลมพิษที่เป็นเกินกว่านั้น เรียกว่าเป็นลมพิษเรื้อรัง ทั้งนี้ จะต้องเป็นไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 วัน   ความสำคัญของการแบ่งอยู่ตรงที่สาเหตุ กล่าวคือ ลมพิษเฉียบพลันนั้น มักจะมีสาเหตุ เป็นต้นว่า เกิดจากการแพ้อาหาร หรือยา หรือเกิดร่วมหรือตามหลังการติดเชื้อ เช่น ท้องเสีย เป็นไข้ คออักเสบ ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฯลฯ  การรักษาลมพิษเฉียบพลัน มักจะเป็นเรื่องตรงไปตรงมา คนไข้ส่วนใหญ่มักจะพอที่จะทราบสาเหตุที่ทำให้เป็น และพยายามหลีกเลี่ยงอยู่แล้ว

Read more: ลมพิษ


Copyright © 2014. All Rights Reserved.