Aurora

          จากข้อจำกัดของเลเซอร์ ทำให้เลเซอร์แต่ละชนิด มีความจำเพาะกับปัญหาแต่ละอย่าง เมื่อมีปัญหาที่ซับซ้อน เช่น รอยแผลเป็นจากสิว ซึ่งอาจมีทั้งรอยแดง เส้นเลือดฝอย รอยดำ และรอยบุ๋มร่วมกันไป การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง ที่เกิดตามวัยก็เช่นกัน ก็อาจมีทั้งเรื่องของริ้วรอย กระ กระเนื้อ รอยดำ รูขุมขนกว้าง เส้นเลือดฝอยขยายตัว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ การใช้เลเซอร์แต่เพียงชนิดใด ชนิดหนึ่ง ไม่สามารถแก้ไขทุกรายละเอียดให้ดูดีขึ้นได้ทั้งหมด จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เลเซอร์หลายชนิดร่วมกัน ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และมีขั้นตอนในการรักษามากขึ้น

          ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการรักษาเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเหล่านี้ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่าย เทคนิกที่ใช้มีทั้งที่เป็นแสงความเข้มสูงที่มีช่วงคลื่นกว้าง (Intense Pulsed Light, IPL) และที่ไม่ใช่แสง เช่นคลื่นความร้อนที่อยู่ในช่วงคลื่นวิทยุ (Radiofrequnecy: RF)

Read more: Aurora

การลอกหน้าด้วยสารเคมี (Chemical Peeling)

   การลอกหน้าด้วยสารเคมีหรือ Chemical Peeling นั้น รู้จักกันในชื่อที่ชาวบ้านเรียกว่า การทำ Baby face ซึ่ง ในเวชปฏิบัติผิวหนังมีการลอกหน้าด้วยสารเคมีกันมานานแล้ว ก่อนสมัยที่เลเซอร์ผิวหนังจะเป็นที่นิยมเสียอีก โดยสมัยก่อนนั้น จะมีการเตรียมสารเคมีจำพวก Phenol ซึ่งมีพิษมากต่อระบบหัวใจ และทางเดินหายใจ ในชื่อที่เรียกว่า Baker?s solution หรือ Jessner?s solution การลอกหน้าด้วยสารเคมีดังกล่าว เป็นการลอกลึกลงไปตลอดชั้นหนังกำพร้า จนถึงชั้นหนังแท้ส่วนบน ซึ่งปัจจุบันเทียบได้กับการกรอเอาผิวหนังออกไปด้วย เลเซอร์ (Ablative resurfacing) ซึ่งในการรักษาดังกล่าวสามารถแบ่งระดับการลอก เป็นชั้นตื้น ชั้นกลาง และลอกลึก ในการลอกลึกนั้น จะต้องนอนโรงพยาบาล ขณะทำต้องทำการนำสลบเพื่อให้คนไข้ไม่รู้สึกตัว ต้องเฝ้าระวังการหายใจ และการเต้นของหัวใจ หลังทำจะต้องปิดแผลซึ่งถ้าไม่มีปัญหาแทรกซ้อนแล้ว แผลจะเริ่มดีขึ้นหลัง 2 สัปดาห์

Read more: การลอกหน้าด้วยสารเคมี (Chemical Peeling)

โบทูลินุม ท็อกซิน (Botulinum toxin)

   โบทูลินุม ท็อกซิน เป็นสารซึ่งสกัดมาจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Clostridium Botulinum สารดังกล่าวเป็นพิษที่เชื้อผลิตออกมา โดยออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้ให้เป็นอัมพาต หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เชื้อนี้พบได้ทั่วไปในดิน เมื่อปนเปื้อนมาในอาหาร และถูกรับประทานเข้าไป จะทำให้เกิดอาการปากแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ตาพร่า เห็นภาพซ้อน ต่อมาจะมีอาการกลืนและพูดลำบาก หายใจไม่ได้ ความดันโลหิตตก และเสียชีวิตในที่สุด มีการสกัดโบทูลินุม ท็อกซินมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดยผลิตเป็นอาวุธชีวภาพ

          ในปีค.ศ.1973 มีการใช้โบทูลินุม ท็อกซินเพื่อประโยชน์ในการรักษาอาการตาเหล่ และอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งผิดปกติ และพบว่ารอยย่นบริเวณหัวคิ้ว และผิวหนังหายไป เหงื่อบริเวณนั้นลดลง จึงได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางผิวหนัง

Read more: โบทูลินุม ท็อกซิน (Botulinum toxin)

โฟโน (Phonopheresis)

บทความเรื่อง phonopheresis นี้ เขียนโดย รศ.พญ.พรทิพย์ ภูวบัณฑิตสิน ประจำหน่วยตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นอาจารย์ของผมเอง เห็นว่าเป็นประโยชน์กับบุคคลทั่วไป จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ในที่นี้

Phonophoresis เป็นวิธีการเพิ่มการดูดซึมของยาโดยใช้อัลตราซาวด์ช่วย แต่จากการศึกษาการใช้ phonophoresis กับยา xylocaine, fluocinolone acetonide และ amphoterin B พบว่าไม่ได้เพิ่มการดูดซึม ดังนั้น phonophoresis ยังไม่สามารถทำได้จริง


          ดังนั้นการทำ phonophoresis ในปัจจุบันก็คือการรักษาด้วยอัลตราซาวด์ธรรมดา อัลตราซาวด์เป็นคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งหูมนุษย์ไม่ได้ยิน และที่นำมาใช้รักษาในเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะใช้คลื่นเสียงความถี่ 0.8-1 megahertz เครื่องทำอัลตราซาวด์จะมีหลายรูปแบบและจะมีหัวอัลตราซาวด์ (probe)หลายชนิดเพื่อส่งคลื่นเสียงให้เหมาะสมกับโรค เครื่องอัลตราซาวด์จะให้ความร้อนกับเนื้อเยื่อซึ่งอยู่ในชั้นลึก เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก และเส้นเอ็นมากกว่าเนื้อเยื่อผิวหนังซึ่งอยู่ตื้น จึงใช้อัลตราซาวด์รักษาโรคกระดูก โรคกล้ามเนื้ออักเสบ หรือเส้นเอ็นอักเสบได้ผลดี และไม่นิยมใช้รักษาการอักเสบในชั้นผิวหนัง

Read more: โฟโน (Phonopheresis)

ไอออนโตฟอเรซิส (Iontophoresis)

มีการใช้ไอออนโตฟอเรซิสในวงการแพทย์มากว่า 200 ปีแล้ว ไอออนโตฟอเรซิสเป็นวิธีการผ่านตัวยาเข้าสู่ผิวหนังโดยอาศัยกระแสไฟฟ้าในการผลักดันยาหรือสารละลายที่มีประจุเข้าสู่ผิวหนัง โดยหลักการประจุบวกผลักบวก ประจุลบผลักลบ ผลการรักษาที่ได้จึงขึ้นกับตัวยา หรือสารที่ใช้ในการทำไอออนโตฟอเรซิส เดิมทีไอออนโตฟอเรซิสถูกใช้ในการนำผ่านยาชาเข้าสู่ผิวหนัง เพื่อทดแทนการฉีดยาชา และมีการใช้ไอออนโตฟอเรซิสในการรักษาโรคเหงื่อออกมากตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า โดยใช้น้ำประปาในการทำไอออนโตฟอเรซิส พบว่าได้ผลดี และยังใช้เป็นวิธีการรักษามาจนปัจจุบัน


          นอกจากนี้ ยังมีการใช้ ไอออนโตฟอเรซิสเพื่อนำผ่านยาในกลุ่มยาปฏิชีวินะ ยาต้านไวรัส ยารักษาเชื้อรา มีการใช้ในการรักษาโรคแผลร้อนใน ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ มะเร็งผิวหนังบางชนิด กำจัดขน และด่างขาว ซึ่งไม่เป็นที่นิยมกันแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากยาที่พัฒนามาใหม่ๆ มีความสามารถในการดูดซึมเข้าสู่จุดออกฤทธิ์ได้ดี

Read more: ไอออนโตฟอเรซิส (Iontophoresis)


Copyright © 2014. All Rights Reserved.